
วันที่ 3 กรกฎาคม 2568 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ และกิจกรรม “มุ่งเป้าอนาคตประเทศไทย” ผนึกพลังขับเคลื่อนเป้าหมายสำคัญตามยุทธศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประเด็นประเทศไทยปลอดภัยจาก PM2.5 โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวเปิดการประชุม โดยภายในงานมีเครือข่ายผู้บริหาร ประกอบด้วย นายกฤษณะ พินิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง นางสาวศิรินทร์พร เดียวตระกูล รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ นายสาธิต มณฑาทิพย์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดตาก) นายสุรชัย แสงศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดลำปาง นางสาวปิยธิดา ถิระรณรงค์ เจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญพิเศษด้านวิเคราะห์นโยบายและแผนงานวิจัยการเกษตร ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) ผู้บริหารส่วนจังหวัดลำปางและจังหวัดตาก ผู้บริหาร วช. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และคณะนักวิจัย ณ โรงแรมทรีทารา จังหวัดลำปางดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวถึง วช. และหน่วยงานเครือข่ายเพื่อร่วมขับเคลื่อนความร่วมมือ “มุ่งเป้าอนาคตประเทศไทยเพื่ออากาศสะอาด” ผนึกพลังขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน โดยมีจังหวัดลำปางและจังหวัดตากเป็นพื้นที่เป้าหมายสำคัญร่วมดำเนินการ คือ
1. ลดจำนวน Hostpot (จากแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 จากการเผาในที่โล่ง) ที่ไม่ได้รับอนุญาตไม่ให้เกิน 5,000 จุด/ปี ของพื้นที่เป้าหมาย 8 จังหวัด
2. ลดจำนวนวันที่ค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน ไม่เกิน 50 วัน/ปี ของพื้นที่เป้าหมาย 8 จังหวัด
3. ลดจำนวนสถิติผู้ป่วย COPD ที่แอดมิทครั้งแรกจากสาเหตุฝุ่น ไม่ให้เกิน 1,000 คน/ปี ของพื้นที่เป้าหมาย 8 จังหวัด
โดยดำเนินการผ่านการบูรณาการงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ ท้องถิ่น และประชาสังคม มุ่งหวังให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนภายในงาน ได้มีการกล่าวจุดมุ่งหมายของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ โดย
1. นายกฤษณะ พินิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง
2. นายสาธิต มณฑาทิพย์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนผู้ว่าราชการจังหวัดตาก
3. นางสาวปิยธิดา ถิระรณรงค์ เจ้าหน้าที่เชี่ยวชาญพิเศษด้านวิเคราะห์นโยบายและแผนงานวิจัยการเกษตร ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
4. นายพิษณุพล ประสาน รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง
5. นางจิตรี จิวะสันติการ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง
6. นางศิริพร ปัญญาเสน ประธานเครือข่ายฟ้าใส ลมหายใจลำปาง
7. นายวิเชษฎ ขาวละออ หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ ผู้แทนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก
8. นายวิฑูรย์ ภู่ชินาพันธุ์ กรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดตาก ผู้แทนประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดตาก
9. นายอารักษ์ อนุชปรีดา ประธานสภาลมหายใจจังหวัดตากซึ่งการลงนามบันทึกข้อตกลง “มุ่งเป้าอนาคตไทยเพื่ออากาศสะอาด” มีเป้าหมายเพื่อบูรณาการข้อมูลวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมในการแก้ปัญหา PM2.5 ในจังหวัดลำปางและจังหวัดตาก เชื่อมโยงผลงานวิจัยของ วช. กับความต้องการในพื้นที่ และร่วมจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานในพื้นที่เข้าร่วมลงนามเพื่อขับเคลื่อนงานอย่างเป็นรูปธรรม โดยมุ่งสร้างประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติ
พร้อมนี้ มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ ระหว่าง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร(องค์การมหาชน) จังหวัดลำปาง องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง สภาวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง และสภาลมหายใจจังหวัดลำปาง และพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ ระหว่าง สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) จังหวัดตาก องค์การบริหารส่วนจังหวัดตาก สภาวัฒนธรรมจังหวัดตาก และสภาลมหายใจจังหวัดตาก ในการมุ่งเป้าอนาคตประเทศไทยเพื่ออากาศสะอาด ด้วยวิจัยและนวัตกรรมของจังหวัดลำปาง และจังหวัดตาก
นอกจากนี้ ยังมีการหารือแนวทางการทำงานร่วมกันกับภาคีเครือข่าย “การขับเคลื่อนมุ่งเป้าอนาคตประเทศไทยเพื่ออากาศสะอาด” โดย นางสาวศิรินทร์พร เดียวตระกูล รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ รศ.ดร.ดุสิต อธินุวัฒน์ ผู้แทน ผู้อำนวยการแผนงาน “ประเทศไทยปลอดภัยจาก PM2.5 (เป้าหมาย 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน)” ผู้บริหารส่วนราชการในจังหวัดลำปางและจังหวัดตาก ผู้ทรงคุณวุฒิ วช. และคณะนักวิจัย
ทั้งนี้ พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ จัดขึ้นเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ ววน. ในประเด็น “ประเทศไทยปลอดภัยจาก PM2.5” โดยมุ่งเน้นการบูรณาการข้อมูลจากงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไปใช้แก้ไขปัญหาฝุ่นละอองอย่างตรงจุดในพื้นที่จังหวัดลำปางและตาก เป็นการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานท้องถิ่น และประชาสังคม เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ทั้งด้านสุขภาพ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน