
เมื่อวันที่ 21 – 23 สิงหาคม 2566 กรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ได้นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เพื่อให้ทราบถึงภารกิจของหน่วยงานในกองทัพเรือ ที่ดำเนินงานในด้านต่างๆและในวันที่ 21 สิงหาคม 66 “กพร.ทร.”ได้นำคณะสื่อฯไปที่ศูนย์ดูแลสุนัขจรจัด นย. เยี่ยมชมการแสดงของสุนัขจรจัด โดยใช้ชื่อ “ศูนย์ดูแลสุนัขจรจัดของกองทัพเรือ โดย หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน” ค่ายกรมหลวงชุมพร ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เพื่อให้การดำเนินการต่าง ๆ เป็นไปตามหลักวิชาการ หลักคุณธรรม หลักจริยธรรม แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบและเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของกำลังพลให้รับทราบถึงปัญหาและความจำเป็นที่จะต้องมีส่วนรวมในการรับผิดชอบต่อสัตว์เลี้ยงมี พลเรือเอกไกรสร จันทร์สุวาณิชย์ อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นผู้ริเริ่มโครงการสุนัขจรจัดได้กำหนดนโยบายให้หน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือ หลังจากนั้นเวลา12.45 น.คณะสื่อฯจึงออกเดินทางไปท่าเรือแหลมเทียน (ฐท.สส.) เพื่อร่วมทำข่าวพิธีรับมอบ ร.ล.ตาชัย (เรือลากจูงขนาดกลาง) , จนเวลา16.00 น.เข้าที่พักและใช้ชีวิตตามอัธยาศัย…หลับสบายที่ โรงแรมSea Paradise Hotelเช้าวันที่ 22 สิงหาคม 2566 หลังรับประทานอาหารเช้า “กพร.ทร.”นำคณะสื่อฯออกเดินทางไปศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล สอ.รฝ.รับฟังบรรยายและร่วมกิจกรรมปล่อยเต่าทะเล สำหรับงานด้านการอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลโดยตรงนั้น มีหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง เป็นหน่วยดำเนินการ ตามแผนปฏิบัติการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเลภายใต้นโยบายความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล ศูนย์อนุรักษ์เต่าทะเลตั้งอยู่ในเขตฐานทัพทหารเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
ภายในศูนย์มีการส่งเสริมการอนุรักษ์เต่าทะเล และบ่ออนุบาลเต่าเล็กก่อนปล่อยลงสู่ทะเล มีห้องนิทรรศการ แสดงเต่าทะเล ตั้งแต่อยู่ในไข่จนถึงวัยเจริญพันธุ์ กองทัพเรือได้ดำเนินงานเฉพาะในเรื่องการเพาะไข่ เต่ารวมถึงการอนุบาลลูกเต่าทะเลเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติที่บริเวณ เกาะคราม อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี….
จากนั้นเวลา10.00 น. เดินทางไปศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง โดยกรมรักษาฝั่งที่ 1 ได้จัดสร้างศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ สอ.รฝ.”โคกหนองนา โมเดล” ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายในพื้นที่หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ต.สัตหีบ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี โดยน้อมนำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ใช้เป็นแนวทางและนำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตแบบพึ่งพาตนเอง สอดคล้องกับพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นไปตามนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือ ศูนย์การเรียนรู้เกษตร ทฤษฎีใหม่ สอ.รฝ. เปิดบริการให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาเยี่ยมชม ตั้งแต่เวลา 08.00-1730 น. โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น และ ยังมีผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรปลอดสารพิษจำหน่ายในราคาถูกโดยเปิดขายทุกวันไม่เว้นวันหยุด ราชการระหว่างเวลา 0900-1800 น.
จนเวลา12.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน ใช้เวลาเพียง 45 นาที (12.45 น.) คณะสื่อฯออกเดินทางไปท่าเรือเขาหมาจอ เพื่อไปเกาะขาม รับฟังบรรยายถึงการอนุรักษ์ปะการังของเกาะขาม และปล่อยให้คณะสื่อฯเล่นน้ำ ดำน้ำ ดูปะการัง
สำหรับเกาะขามเป็นเกาะเล็ก ๆ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะแสมสาร ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ห่างจากอำเภอสัตหีบ ประมาณ 9 กิโลเมตร ส่วนมากแนวปะการังอยู่ในเขตน้ำตื้น ในระดับ 3 – 6 เมตร จึงเหมาะสำหรับการดำน้ำท่องเที่ยว ทั้งแบบผิวน้ำ และแบบน้ำลึก นอกจากนี้ในแนวปะการังแห่งนี้ยังพบปลาทะเลที่สวยงาม ได้แก่ ปลาผีเสื้อ ปลาสลิดหิน นอกจากนี้ยังพบสัตว์ทะเลอื่นๆ ได้แก่ หอยมือเสือ หอยมือแมว ดอกไม้ทะเลฯลฯ มีความสวยงามโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเกาะขามและจุดเด่นของอุทยานใต้ทะเลเกาะขามนี้ ยังเป็นสถานที่แห่งแรกของประเทศไทย ที่ได้มีการเคลื่อนย้ายปะการังที่กำลังจะเสื่อมโทรมจากมลภาวะ ได้ดำเนินการโดยกำลังพลกองทัพเรือ และนักดำน้ำอาสาสมัคร จนกระทั้งเวลา16.00 น. คณะสื่อฯได้เดินทางกลับ/เข้าที่พัก จนเวลา 18.30 น.ปาร์ตี้ ไทม์ จึงเกิดขึ้น มีนักร้องอนาคตหลายคนมีแสงเกิดขึ้น ฮะฮะฮา??
เข้าวันที่ 23 สิงหาคม 2566 ตื่นขึ้นมารับประทานอาหารเช้า จนกระทั้งเวลา 08.30 น. ได้ออกเดิน ทางไปพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย เขาหมาจอ และรับฟังคำบรรยาย โดยเจ้าหน้าที่สรุปว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงมีพระราชกระแสแนะนำแนวทางการสร้างความรู้ความเข้าใจและจิตสำนึกในเรื่องเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้แก่เยาวชนไว้ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 ได้มีพระราชกระแสว่า “การสอนให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนั้น ควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงามความสนใจ ในโอกาสเดียวกัน ยังได้ทรงมีพระราชกระแสเพิ่มเติมด้วยว่า ตามเกาะต่าง ๆ มีพืชพรรณอยู่มาก แต่ยังไม่มีผู้สนใจเท่าไร จึงน่าจะมีการสำรวจพืชพรรณตามเกาะด้วย”
นอกจากนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ยังได้ฝากงานอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติทางทะเลนี้ไว้ต่อกองทัพเรือด้วย โดยมีพระราชกระแสต่อผบ.ทร.เมื่อ 31 พฤษภาคม 2544 ว่า “ให้กองทัพเรือทำงานนี้ เพื่อความมั่นคงของประเทศ” อันเนื่องมาจากพระราชกระแสและพระราชดำริหลายครั้งนี้เอง กองทัพเรือจึงมุ่งหน้าดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ที่เกาะแสมสาร กองทัพเรือได้จัดตั้ง “พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเกาะและทะเลไทย” ขึ้นบนฝั่งสัตหีบ ตรงข้ามเกาะแสมสาร รวมทั้งจัดสร้างสวนพฤกษศาสตร์และเส้นทางศึกษาธรรมชาติบนเกาะแสมสาร โดย มีจุดประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และปลูกจิตสำนึกให้รักษาทรัพยากรธรรมชาติไว้ธรรมชาติวิทยาและเรียกว่าอันเป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงวัตถุธรรมชาติทั้งในด้านธรณีวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตวศาสตร์ ทางทะเลเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งสำหรับเกาะแสมสารแห่งนี้จะไม่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวค้างคืนบนเกาะนี้ สามารถไปได้แค่ เช้า-เย็นเท่านั้นจากนั้น เวลา 10.30 น. “กพร.ทร.”ได้นำคณะสื่อฯเดินทางข้ามไปเกาะแสมสาร / รับฟังบรรยายสรุปและชมทะเล ตลอดจนเวลา 14.00 น.รับประทานอาหาร และเดินทางกลับถึง กพร.ทร.เวลา 20.00 น.(เพราะฝนตกรถติดหนัก)
พร รวิธนิษฐา/รายงาน